วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การบริหารจัดการฟาร์มเห็ดให้ประสบความสำเร็จ


การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลากว่า 60 ปี โดยอาศัยการศึกษาวิจัย ค้นคว้าทั้งในและต่างประเทศ มีการเผยแพร่สู่เกษตรกรและผู้สนใจ ในลักษณะการทำเป็นอาชีพเสริมรายได้กระทั่งพัฒนาไปเป็นอาชีพหลัก มีชาวฟาร์มเห็ดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งก็ล้มเลิกกิจการ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการนำความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ การใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มแบบผสมผสาน ดังนี้ผู้ที่ต้องการเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีการพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้

1.การวางแผนขั้นแรก : การคัดเลือกชนิดเห็ด
การคัดเลือกชนิดเห็ดนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดการวางผังและแผนปฏิบัติที่จะติดตามมา สำหรับรายละเอียดที่ต้องทราบเพื่อให้ประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้

1.1 เห็ดที่จะเพาะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเห็ดที่ประชาชนในพื้นที่มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้านางรม หรือจะเป็นเห็ดที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้จัดทั่วไปและเกิดความนิยมในการบริโภคขึ้นมา เช่น เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง
1.2 พื้นที่ หรือสถานที่ตั้งฟาร์ม จะต้องอยู่ไม่ห่างจากตลาดหรือแหล่งรับซื้อ มีการคมนาคมสะดวก
1.3 ตลาด จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตที่กำหนดไว้ในเป้าหมายได้
1.4 สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศเหมาะสมกับการผลิตเห็ดชนิดที่ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดต่างชนิดกันมีความต้องการอุณหภูมิในการเจริญของเส้นใยและการออกดอกไม่เท่ากัน ถ้าสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิไม่เหมาะสมทำให้ต้องมีการปรับอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการผลิตยุ่งยากเพิ่มขึ้นไปอีก และมีต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย
1.5 วัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด หาง่าย และมีราคาถูกซึ่งในปัจจุบันนี้ ปัญหาอันเนื่องมาจากวัสดุเพาะหายาก กำลังกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของการเพาะเห็ดหลายชนิด ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุสำหรับเพาะเห็ดหลายอย่าง เช่น ขี้เลื่อยและขี้ฝ้าย มีราคาสูงขึ้น และหายากขึ้นเรื่อง ๆ ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นถ้าฟาร์มเห็ดตั้งอยู่ในที่ห่างไกลจากแหล่งผลิตวัสดุเหล่านี้
เมื่อศึกษาข้อมูลโดยละเอียดแล้วจะสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเลือกเพาะเห็ดชนิดใดก็ได้ และจัดทำแผนการตลาดประจำปีไว้ล่วงหน้า เพื่อทำแผนการผลิตเห็ดประจำปี โดยกำหนดปริมารงาน และกำหนดเวลาปฏิบัติได้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างมีระบบ

2.การคัดเลือกแม่เชื้อ
การคัดเลือกแม่เชื้อเห็ดเป็นการเตรียมการขั้นตอนแรกของการทำเชื้อ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่ ผลผลิต คุณภาพ สี ขนาดดอกและการตอบสนองต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ แม่เชื้อเตรียมได้จากเนื้อเยื่อดอกเห็ด แม่เชื้อที่ดีจะต้องมีความบริสุทธิ์ ไม่เป็นโรคติดต่อ จึงมีความจำเป็นในการเอาใจใส่ในการคัดเลือกแม่เชื้อเป็นสำคัญ

3.การทำเชื้อเห็ด
เชื้อเห็ดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเพาะเห็ดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้พันธุ์เห็ดที่มีอัตราการเจริญสูง มีความแข็งแรง เส้นใยเจริญรวดเร็ว ให้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด ก็นำมาเพาะในวัสดุที่ปราศจากการปนเปื้อน ผ่านการบ่ม และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

4.การจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
การเตรียมวัสดุเพาะเห็ดมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ดที่จะทำการเพาะ พอจะแยกกว้างๆ ออกได้เป็นการเตรียมวัสดุที่จำเป็นต้องหมัก เช่น การทำปุ๋ยเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม หรือปุ๋ยเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือแม้กระทั่งขี้เลื่อยไม้เบญจพรรรซึ่งจำเป็นต้องกองหมักทิ้งไว้ก่อน ส่วนการเตรียมวัสดุอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ วัสดุที่ไม่จำเป็นต้องหมัก เช่น ฟางสำหรับเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และขี้เลื่อยไม้ยางพารา สำหรับเพาะเห็ดถุงชนิดต่างๆ เป็นต้น
ในการเตรียมวัสดุที่จะต้องหมักนั้น ขั้นตอนต่างๆ ของการหมักธาตุอาหารที่ต้องใส่เพื่ม วิธี และเวลาในการกลับกอง การให้ความชื้น ความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีหรือธาตุอาหารของปุ๋ย เมื่อกระบวนการสิ้นสุดลง ความหนาบางของชั้นปุ๋ยเมื่อใส่บนชั้นในโรงเรือนอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบไอน้ำเพื่อที่จะกำจัดศัตรูเห็ด รวมทั้งการปรับสภาพปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดเห็ดที่จะเพาะเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทราบ

ส่วนวัสดุที่ไม่ต้องหมักนั้น ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องทราบได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี อันได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณธาตุอาหาร การเติมอาหารเสริม ระดับความชื้น การบรรจุถุง และการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลกระทบต่อผลผลิตและความเสียหายอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนโดยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น วิธีการใส่เชื้อ และระบบการใส่เชื้อซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดเห็ด เชื้อเห็ดบางชนิดต้องการความระมัดระวังอย่างยิ่งในการใส่เชื้อลงในถุง มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการปนเปื้อนเสียหาย เช่น เห็ดหอม

5.การดูแลรักษา
เริ่มตั้งแต่การบ่มเชื้อ การบังคับให้ออกดอก การให้น้ำ และการเก็บดอก ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบได้แก่สภาพแวดล้อมที่เหมาะส่ม เช่น ปริมาณก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ ความชื้น ่ความเป็นกรดเป็นด่าง ในระยะความเจริญต่างๆของเห็ดแต่ละชนิด ซึ่งนับว่าจำเป็นในการให้ผลผลิตเป็นอย่างยิ่ง

-------------------------------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดกระด้างหรือเห็ดลม(เห็ดบด,เห็ดขอนดำ)


เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม(เห็ดบด,เห็ดขอนดำ) เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี มีครีบที่มีหมวกดอกขนาดใหญ่ กว้าง 5 – 12 เซนติเมตร ก้านสั้น 1 – 2 เซนติเมตร สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ ในธรรมชาติ มักพบบนขอนไม้ล้มในตระกูลเต็งรังหรือไม้ใบกว้าง ดอกเห็ดอาจเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือขึ้นซ้อนกันบนขอนไม้ มักพบเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อากาศกลางวันและกลางคืน อุณหภูมิต่างกันมาก ๆ

เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ คือก รุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่น ๆ

ตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรก ร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกัน ดังนี้

สูตรวัสดุเพาะที่ 1 (อัญชลี, 2540ข)

- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือไม้มะม่วง มะขาม 100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
- รำ 3-5 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- น้ำ 65-75 กิโลกรัม (ลิตร)

สูตรวัสดุเพาะที่ 2 (พิมพ์กานต์, 2540 )

- ไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมชัลเฟต 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับ รำละเอียด 3 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัมปรับความชื้นประมาณ 50 – 55 เปอร์เซ็นต์

วัสดุและอุปกรณ์

1. ถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 3X13 นิ้ว
2. คอขวดพลาสติกทนร้อน
3. สำลี ยางรัด
4. หม้อนึ่งลูกทุ่ง
5. วัสดุเพาะตามสูตร
6. โรงพักบ่มเลี้ยงใยและโรงเรือนเปิดดอก

วิธีการ

1. ผสมสูตรวัสดุเพาะเข้าด้วยกัน โดยนำน้ำตาลละลายในน้ำจากนั้นนำไปรดบนขี้เลื่อย ซึ่งผสมกับรำไว้เรียบร้อยแล้ว ผสมจนเข้ากันดี จึงนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น

2. รวบปากถุง รวบคอขวด จีบและพับปากถุง ดึงให้ตึงรัดด้วยยางวง แล้วอุดด้วยฝ้ายหรือสำลี และนำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือฝาครอบพลาสติกมาปิดไว้ ป้องกันไม่ให้สำลีเปียก ขณะทำการนึ่งวัสดุเพาะ

3. นำไปเรียงในหม้อนึ่งลูกทุ่ง เต็มแล้วจึงปิดฝา แล้วนึ่งโดยไม่ใช้ความดันเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ไฟสม่ำเสมอสังเกตุให้ไอน้ำพุ่งตรงตลอดเวลา ต้องพยายามเติมเชื้อเพลิงให้สม่ำ เสมอด้วย เมื่อได้เวลาแล้ว นำมาทิ้งไว้ให้เย็นในที่สะอาด และ อากาศโปร่ง แล้วนำเชื้อ ขยายมาถ่ายลงถุงเพาะ พยายามใส่เชื้อขยายภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถุงเพาะเย็นแล้ว มิฉะนั้นเส้นใยจะเดินไม่ตรง เนื่องจากจะมีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาแทรกได้

การพักบ่มเส้นใย

เส้นใยที่เจริญในถุงวัสดุเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเติม ถุงเพาะเพื่อเส้นใยเดินเต็มถุงต้องพักบ่มเส้นใยต่อไป จนเส้นใยเริ่มสร้างสีน้ำตาล โดย เฉลี่ยจะใช้เวลา 80-90 วัน จึงนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส

โรงเรือนเปิดดอก

คล้ายโรงเรือนของเห็ดขอนขาว สามารถมุงด้วยพลาสติกและพรางแสงด้วยซาแลน ไม่จำเป็นต้องใช้แฝกหรือจาก เพราะเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูง โดยให้มีความชื้น 70-80 %
ในการเปิดดอกเห็ดลม เห็ดจะออกดอกได้ดี เมื่ออากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวัน ต่อกลางคนต่างกันมาก

มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเท ียงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ

นอกจากนี้เกษตรกรบางราย อาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่ม แล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดกระด้างแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น

การเก็บผลผลิต :

การเก็บดอกเห็ด เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดกระด้า งประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง

ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกเลยระยะดังกล่าว จะทำให้ดอกเห็ดทีได้เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว